แนะนำบ้านสไตล์นอร์ดิก

บ้านสไตล์นอร์ดิก

แนะนำบ้านสไตล์นอร์ดิก (Nordic house) เป็นทรงบ้านที่เพิ่งได้รับความนิยม ในไทยไม่กี่ปีมานี้เอง โดยเป็นสไตล์ที่ผสมผสานเส้นสายแบบโมเดิร์น ดูมีความเรียบง่ายและร่วมสมัย บ้านทรงนอร์ดิกมีอีก ชื่อเรียกหนึ่งคือ บ้านสไตล์สแกนดิเนเวียน (Scandinavian style) โดยได้รับอิทธิพลจากการแต่งบ้านแถบยุโรปเหนือ เช่น นอร์เวย์ ฟินแลนด์ สวีเดน และเดนมาร์ค

แนะนำบ้านสไตล์นอร์ดิก ทรงบ้านสุดฮิต

บ้านสไตล์นอร์ดิกทเป็นบ้านที่ได้รับอิทธิพลมาจากทางฝั่งยุโรป ที่มีอากาศหนาวเย็น บางคนอาจจะคุ้นตาใน บ้านสไตล์นี้ตามคาเฟ่ หรือ พิพิธภัณฑ์ ต่างๆ เป็นบ้านที่มีหลังคาสูงแหลมสูง ไม่มีชายคาที่ยื่นอกมาจากตัวบ้าน ทำให้บ้านสไตล์นี้มีความเป็นเอกลักษณ์ที่ค่อนข้างสูง และก็ตามมาด้วยข้อควรระวังต่างๆ บ้านสองชั้น

แนะนำบ้านสไตล์นอร์ดิก

ลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก ที่ปรับให้เหมาะกับเมืองไทย

ทำไมสไตล์บ้านของเมืองหนาว ถึงได้รับความนิยมในเมืองไทย ที่แสนอบอ้าวกันล่ะ? นั่นก็เพราะโดยหลักการการทำบ้านนอร์ดิก จะเน้นการเปิดรับ แสงธรรมชาติ และการเปิดพื้นที่โล่งเพื่อ เชื่อมต่อกับธรรมชาติ ทั้งสายลมและแสงแดด ซึ่งผู้ออกแบบสามารถปรับ ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศเมืองไทยที่เป็นลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น (Tropical climate) ได้ไม่ยาก และต้องให้ความสำคัญกับทิศทางลม กับช่องแสงมากขึ้นกว่าบ้านสไตล์อื่น

ลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก ภายนอก

1.เส้นสายที่เรียบง่าย รูปทรงที่ไม่ซับซ้อน
การออกแบบตัวอาคารลักษณะ เป็นทรงเรขาคณติที่ดูเรียบง่าย สบายตา ไม่มีรายละเอียดที่ซับซ้อน เกินความจำเป็น เส้นสายที่สะอาด เป็นเส้นนำสายตาดึงดูดความสนใจ

2.จั่วสูง ภายในตัวบ้านโปร่ง โครงหลังคาลาดชัน มีกระจกเยอะหรือสูงเพื่อรับแสงธรรมชาติ
ตัวหลังคาจะใช้รูปแบบทรงจั่วสูง ภายในโปร่งโล่งสบาย การออกแบบที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย และโดดเด่นด้วยความงาม เน้นช่องแสงจากกระจก ในการรับแสดงธรรมชาติ การยกจั่วสูงที่ทำให้หลังคาลาดชัน ซึ่งความลาดเอียงในระดับที่มากกว่าปกติจะช่วยให้น้ำฝนไหล ลงด้านล่างได้อย่าง มีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดน้ำขังบริเวณหลังคาจนเกิดการรั่วซึมได้ง่าย

นอกจากนี้โครงหลังคา ที่สูงยังช่วยให้ภายใน ตัวบ้านโปร่งโล่ง อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ดี หากเสริมช่องระบายอากาศเพิ่มจะเอื้อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในบ้านอยู่เย็นสบายตลอดเวลา เรามักจะเห็นบ้านนอร์ดิกชั้นเดียวมากกว่า แบบ 2 ชั้น

3.ใช้สีธรรมชาติ (Neutral) สีขาว เทา ดำ เบจ และวัสดุธรรมชาติ
เฉดสี บ้านนอร์ดิก เน้นความเป็นธรรมชาติ “บรรยากาศ” ของความเรียบง่าย สงบ อบอุ่นและผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย มักตกแต่ง ด้วยโทนสีของธรรมชาติ อาทิ การเลือกใช้โทนสีขาวเป็นสีพื้น, สีเอิร์ธโทนอย่างสีน้ำตาลของไม้ เป็นต้น การเลือกวัสดุตกแต่งผนังที่คุมโทน โดยปูแผ่นไม้ส่วนหนึ่ง หรืออีกด้านหนึ่งปูด้วยแผ่นหิน ซึ่งวัสดุทั้งสองรูปแบบได้แรงบันดาลใจจากวัสดุ ตกแต่งบ้านตามสไตล์นอร์ดิก สะท้อนถึงอารมณ์อันสุขุม สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและรักในธรรมชาติ ที่เป็นคุณลักษณ์เด่น

ลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก ภายใน

1.เน้นรูปทรงของเฟอร์นิเจอร์ที่เรียบง่าย
เน้นงานลอยตัว ปรับเปลี่ยน เคลื่อนย้ายง่ายวัสดุที่ปรับเปลี่ยน และเคลื่อนง่ายง่ายช่วย ช่วยลดพลังงานเสียตอบรับกับเทรนโลกร้อน

2.ใช้ผนังและเฟอร์นิเจอร์สีธรรมชาติ (Neutral)
เช่น สีขาว เทา ดำ เบจ และวัสดุที่มีส่วนของธรรมชาติ ผนังสีอ่อน โดยเฉพาะสีเบจอ่อนและสีขาว จะช่วยให้บ้านดูโปร่งตา สะอาด และสว่าง ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย

3.ตกแต่งเพิ่มเติมด้วยต้นไม้
ประดับมุมต่าง ๆ ด้วยต้นไม้ ซึ่งนอกจากความร่มรื่น ต้นไม้หลายชนิดช่วย ฟอกอากาศภายใน และยังสร้างบรรยากาศ เชื่อมธรรมชาติเข้าสู่ ตัวอาคารได้เป็นอย่างดี

แนะนำบ้านสไตล์นอร์ดิก

ไอเดียบ้านสไตล์นอร์ดิก หลังคาเอียงได้เอียงดี

สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland) เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่หลายคนฝันใฝ่ฝันอยากไปสัมผัสกับความงดงามด้วยตาของตัวเองสักครั้ง ทั้งทิวทัศน์ธรรมชาติ อากาศแสนบริสุทธิ์ ผู้คนมีมิตรไมตรี ทำให้รู้สึกราวกับเป็นดินแดนในสวรรค์ ถ้ามีบ้านอยู่ที่นั่นสักหลังคงจะมีความสุขไม่น้อย เนื้อหานี้ “บ้านไอเดีย” มีแบบบ้านเท่ ๆ ในสวิเซอร์แลนด์มาฝากกัน ที่ตั้งอยู่ใน Studen หมู่บ้านชนบทนอกเมืองซูริก ใกล้กับ Einsiedeln Abbey ด้านหน้าของแม่น้ำ Sihl ที่เคลื่อนตัวช้าๆ พื้นที่ราบนี้ล้อมรอบด้วยหมู่บ้านที่อยู่อาศัยเล็กๆ รายรอบด้วยฟาร์ม ป่าไม้ที่ได้รับการคุ้มครอง และเส้นทางเล่นสกีวิบาก วิวน่าอิจฉาขนาดนี้ในบ้านจะน่าอิจฉาขนาดไหน ต้องตามไปดู

เจ้าของบ้านเป็นคู่รักชาวสวิตเซอร์แลนด์และสเปนที่มีลูกสองคน พวกเขาย้ายจากอพาร์ตเมนต์ในซูริกเพื่อมาทำบ้านส่วนตัวที่อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น ทั้งคู่อยากเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเกษตรกรรมและต้องการบ้านที่ใกล้จุดเล่นสกี จึงเลือกที่นี่และวางแผนจะทำงานจากที่บ้าน (work from home) โจทย์ของบ้านที่เน้นคือ ต้องการบ้านสามห้องนอนที่เปิดกว้างและยืดหยุ่นพร้อมความเป็นส่วนตัว มีพื้นที่นั่งเล่นชมสวนที่กว้างขวาง และที่จอดรถสำหรับรถยนต์และจักรยานภายใต้หลังคาเดียวกัน

ด้านหลังบ้านสไตล์นอร์ดิก หลังคาเอียงได้เอียงดี

การดีไซน์ บ้าน จะต้องเป็นไปตามกฎ Zoning ที่ท้องที่กำหนดให้โรงจอดรถที่แยก หรือโรงจอดรถที่แนบมากับนั้นต้องมีรูปร่างแบบหลังคาเอียงลงแบบเพิงหมาแหงน บ้านสองชั้นหลังนี้จึงเชื่อมต่อองค์ประกอบทั้งสองนี้ไว้ใต้หลังคาทรงมุมที่ไม่สมมาตร ด้านหนึ่งไม่มีกันสาดไม่มีชายคาเหมือนบ้านสไตล์นอร์ดิกทั่วไป

แต่อีกด้านหลังคาลาดลู่ลงมายาว ๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นโรงรถไปในตัว ซึ่งลักษณะหลังคาแบบนี้ก็มีอีกหนึ่งข้อดีคือ ช่วยขจัดหิมะในฤดูหนาวให้ไหลลงได้อย่างง่ายดาย และยังยอมให้แสงแดดส่องเข้ามาที่ด้านหน้าและด้านหลังของบ้าน สีของหลังคาที่ทำสนิทตัดกับผิวอาคารไม้สีอ่อน ๆ ทำให้บ้านดูทันสมัย แปลกตา แต่ยังคงความรู้สึกอบอุ่น

ส่วนหน้าของบ้านหลังนี้เป็นคอนกรตและไม้ ทางเข้าสามารถหันไปทางด้านข้างเพื่อความเป็นส่วนตัวมากขึ้น แม้ภายนอกจากดูเรียบนิ่งสะท้อนถึงบุคลิกความสุภาพเรียบร้อยของชาวสวิสและชาวแคนาดา แต่โลกภายในบ้านกลับเต็มไปด้วยชีวิตชีวา เพราะมีความหลากหลายเชิงพื้นที่

เพื่อให้ทุกส่วนใช้งานได้จริง สำหรับชั้นล่างจะเป็นร่วมกัน จัดแปลนแบบ open plan วางฟังก์ชันครัว ห้องทานอาหาร และมุมนั่งเล่นผิงไฟเอาไว้ด้วยกัน โดยไม่มีผนังแบ่งกั้นเป็นห้อง ๆ ทำให้เกิดสเปซกว้าง ๆ การใช้งานลื่นไหล เด็กเล็กวิ่งเล่นในบ้านได้อย่างที่เจ้าของบ้านต้องการ ผนังบ้านเป็นกระจกใส รับแสงธรรมชาติยามเช้า ได้เต็มที่ทำให้บ้านดูสดชื่นในทุกเช้า

สำหรับชั้นล่างจะเป็นร่วมกันจัดแปลนแบบ open plan วางฟังก์ชันครัว ห้องทานอาหาร และมุมนั่งเล่นผิงไฟเอาไว้ด้วยกันโดยไม่มีผนังแบ่งกั้นเป็นห้อง ๆ

ผนังชั้นล่าง คานรองรับ และเตาผิงไฟ ล้วนสร้างด้วยคอนกรีตแบบหล่อในที่ ซึ่งมีความรู้สึกหนาหนัก ทั้งทางสายตาและน้ำหนักจริง ๆ เพื่อใช้รองรับแผงสำเร็จรูปที่ทำจากไม้ลาร์ชน้ำหนักเบา ที่เข้ามาลดความหนัก และความแข็งกระด้างของคอนกรีต เพิ่มสัมผัสอบอุ่นให้บ้าน ไม้นี้เป็นชนิดเดียวกับที่ ใช้เป็นเปลือกหุ้มภายนอกด้วย ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีคือ จะเกิดคราบและจางหายไปอย่างรวดเร็วไม่ทิ้งรอยเมื่อเจอ สภาพอากาศที่รุนแรงของภูเขา ถัดจากครัวจะเป็นบันไดที่ค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้นไปชั้นลอยและชั้นสอง บ้านจึงมีบางส่วนที่เป็นโถงสูง ทำให้บ้านดูโปร่งสบาย และเชื่อมต่อสายตากันได้ทุกระดับชั้น

หน้าต่างและ skylight ถูกจัดอยู่ใน ตำแหน่งที่เหมาะสมกับการใช้งาน ทำให้บ้านสว่างในช่วง กลางวันจนแทบไม่ต้องเปิดไฟฟ้าส่องสว่าง พร้อมรับวิวภายนอกได้ด้วย วัสดุกระจกและการจัดแสง ของบ้านหลังนี้สร้างขึ้น ตามมาตรฐานที่เกินจากที่กำหนดในท้องถิ่น ทำให้บ้านมีประสิทธิภาพ ด้านพลังงานสูงมาก จนโครงการนี้มี คุณสมบัติเป็นบ้านแบบประหยัดพลังงานตามมาตรฐานในแคนาดาได้เลย

ห้องนอน 3 ห้องบนชั้น 2 บริเวณจุดที่สูงที่สุดของบ้าน ติดตั้งประตูและผนังกระจก ที่ให้มุมมองออกไปที่เนินหญ้า ทิวป่า และเลยขึ้นไปเห็น ท้องฟ้าสีคราม ที่อยู่ทักทายกับเจ้าของห้อง ตั้งแต่เช้าไปจน ถึงก่อนเข้านอน แถมยังมีระเบียงให้ออกไปสูดกลิ่นธรรมชาตินอกอาคารได้อีก

หน้าต่างและ skylight ถูกจัดอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมกับการใช้งาน

ห้องสำหรับวัยรุ่นที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ถูกแยกออกมาจากส่วนอื่น ๆ ของบ้าน พร้อมทำฟังก์ชันซอกเล็ก ๆ เป็นเหมือนกล่องสี่เหลี่ยมให้ซุกตัวอ่านหนังสือ เล่นกีตาร์ บ้านนี้จึงออกแบบมาอย่างเข้าใจคนทุกวัยตอบได้ทุกความต้องการ

ในแต่ละโซนของโลกจะมีสภาพแวดล้อม สภาพภูมิอากาศต่างกัน การดีไซน์บ้านจึงต้องออกแบบให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น อย่างเช่น บ้านเขตหนาวมีหิมะตก จะต้องออกแบบหลังคาให้สามารถรองรับน้ำหนักหิมะได้ มักไม่มีกันสาดไม่มีชายคาเพื่อให้หิมะไหลลงง่าย ๆ ไม่ให้ค้างติด ส่วนช่องเปิดที่เป็ผนังกระจกจะมีขนาดใหญ่และจำนวนมากเพื่อรับแสงเข้าไปสร้างความอบอุ่น ซึ่งหากนำแบบบ้านมาสร้างในเขตร้อนจะไม่เหมาะ เพราะทำให้บ้านร้อนและผนังชื้นเป็นเชื้อราได้ ต้องมีการปรับเปลี่ยนทิศทางผนังกระจกในทิศที่รับแสงไม่มาก หรือเลือกวัสดุที่สะท้อนแสงได้ดี เป็นต้น