บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น บ้านสไตล์ญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะมีทรงเหลี่ยมและทำจากไม้เป็นหลัก นอกจากนี้ยังผสมผสานระหว่างปูนกับไม้ออกมาได้อย่างลงตัวอีกด้วย หากอยากได้บ้านสไตล์ญี่ปุ่นที่แท้จริง สิ่งที่ขาดไปไม่ได้ คือ การตกแต่งที่น้อยชิ้น แต่มากฟังก์ชัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบ้านสไตล์มินิมอลนั่นเอง
บ้านไม้ชั้นเดียวสไตล์ญี่ปุ่น
นอกจากนี้ยังต้องมีประตูโชจิ (Shoji) เสื่อทาทามิ (Tatami) โต๊ะโคทัตสึ (Kotatsu) รวมถึงห้องรองเท้าด้วยนะ เพราะนี่คือเอกลักษณ์ของบ้านคนญี่ปุ่นเลย มีแค่ประมาณนี้ กลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นก็มาเต็มแล้ว
ความใฝ่ฝันของใครหลาย ๆ คนคงอยากมีที่ดินสักผืนเอาไว้ปลูกบ้านสักหลัง โดยเฉพาะบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ที่ดูน้อยแต่มาก แถมมีความน่ารักอยู่ในตัว ใครได้เข้าไปอยู่คงจะมีความสุขไม่น้อยเลยล่ะ Short Recap มีไอเดียการสร้างบ้านสไตล์ญี่ปุ่นมาฝากทุกคน อยากมีบ้านเหมือนคนญี่ปุ่น
แบบที่ 1 บ้านไม้สไตล์ญี่ปุ่น น่ารักได้ แม้พื้นที่จะเล็ก
แบบบ้านหลังเล็ก เมื่อคิดถึง บ้านสไตล์ญี่ปุ่น ผู้อ่านคิดถึงอะไรเป็นอันดับแรก สำหรับผู้เขียนสิ่งที่ ผุดขึ้นมาในทันที คือ ความชาญฉลาดใน การใช้พื้นที่ที่มีอยู่อย่างจำกัด หากลองนึกถึง แบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ที่อยู่ในใจ จะเห็นได้ว่า แม้พื้นที่ภายในบ้านหลังนั้น จะเล็กและมีอยู่อย่างจำกัดแค่ไหน นักออกแบบ และเจ้าของบ้านก็สามารถ จัดสรรได้อย่างพร้อมสรรพ มีครบครันตามความต้องการ ทั้งยังยืดหยุ่นต่อ การใช้งานได้ดีอีกด้วย
เช่นเดียวกับ บ้านชั้นครึ่งหลังนี้ หากพิจารณาจากภายนอกจะทราบ ได้โดยทันทีว่า ภายในบ้านไม่ได้ มีพื้นที่กว้างขวางมากนัก รูปลักษณ์การดีไซน์ ที่เน้นความอบอุ่น เรียบง่ายและเป็นธรรมชาติ สีสันของไม้ที่นำ มากรุผนังทั่วทั้งหลัง
บ่งบอกถึงความ อ่อนน้อมถ่อมตน ไม่หวือหวา หลังคาลาดเอียงองศาสูง ที่ลาดจากหลังมาสู่ด้านหน้า ยิ่งเสริมให้หน้าบ้านดูอบอุ่นชวนมองยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีเฉลียงเล็ก ๆ ยื่นออกมา โดยใช้เสาไม้สองต้นรับน้ำหนัก เอาไว้อย่างพอเหมาะพอดี
แม้จะเป็น บ้านหลังเล็ก ก็ต้องระมัดระวังเรื่อง ความปลอดภัย ประตูไม้บานทึบแน่นหนา พอที่จะนอนหลับได้อย่างสบายใจ เมื่อเข้ามาจะพบ กับโซนนั่งใส่รองเท้า พื้นระดับต่ำกว่าส่วนอื่นของบ้าน ปูด้วยกระเบื้องที่เลอะ และเปื้อนได้ ผนังด้านข้างใช้ ประโยชน์ให้คุ้มค่า ทำเป็นชั้นวางของ และวางรองเท้าไปในตัว ทาพื้นหลังด้วยสีฟ้า เป็นมุมสดใสที่ช่วยพัฒนาความเป็น ระเบียบให้กับเด็ก ๆ ได้รู้จักเก็บรองเท้าเอง แขวนกระเป๋าเอง เมื่อกลับมาจากโรงเรียน
ผนังของบ้านไม่เพียง แค่ไว้กั้นสัดส่วน ยังคงถูกนำมาเป็นที่จัดเก็บ ของใช้อย่างเต็มที่ ทำให้บ้านที่มีพื้นที่ ใช้สอยจำกัด แลดูสบายตา และไม่รกรุงรังจนทำให้ว้าวุ่นใจ และด้วยความลาดเอียง ของทรงหลังคา พื้นที่ในโซนด้านหลัง จึงสามารถออกแบบให้เป็นชั้นลอย ขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งได้ นับเป็นการใช้พื้นที่ แนวดิ่งทดแทนพื้นที่ แนวราบที่มีไม่เพียงพอ
การตกแต่งภายในชั้นล่าง ของบ้านค่อนข้างยืดหยุ่นใน ด้านการใช้งาน โต๊ะรับประทานอาหาร เชื่อมต่อกับครัว โดยไร้ผนังกั้น นอกจากจะเป็นพื้นที่ ทานอาหารของครอบครัวแล้ว ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็นโต๊ะ ทำงานของคุณพ่อคุณแม่หรือเป็นโต๊ะทำการบ้านของลูก ๆ ได้ด้วย ส่วนห้องนั่งเล่นหรือห้องดูทีวี แยกออกมาเป็นสัดส่วน เล่นระดับพื้นให้ต่ำลงไปเล็กน้อย ประยุกต์ใช้เป็น ห้องนอนรับแขกได้เช่นกัน
ผนังด้านเดียวสามารถ ใช้ประโยชน์ได้ถึง 3 ฟังก์ชัน บิลท์อินเป็นมุมนั่งเล่นริม หน้าต่างและชั้นวางหนังสือ ยังเหลือพื้นที่เล็ก ๆ ไว้วางโต๊ะคอมพิวเตอร์ ไว้นั่งทำงานอย่าง เป็นส่วนตัวได้ด้วย
ภายในห้องน้ำจะขาดอ่างอาบน้ำไว้นอนแช่น้ำร้อนไปไม่ได้ แต่เมื่อพื้นที่น้อยจึงแก้ไขด้วยการนำอ่างล้างหน้ามาไว้ข้างนอกห้องน้ำแทน ทำให้มีพื้นที่เพียงพอในการวางอ่างอาบน้ำ ทั้งยังเป็นการแบ่งแยกฟังก์ชัน การใช้งานได้อย่างเหมาะสม ขณะที่คนนึงอาบน้ำ อีกคนก็สามารถแปรงฟัน ล้างหน้ารอไปก่อนได้เลย ไม่ต้องแย่งกันในเวลาที่เร่งรีบ
เพื่อความสวยงามหากยกอ่างล้าง หน้าออกมาไว้นอกห้องน้ำ อาจทำการแบ่งโซนให้ เป็นสัดส่วนด้วยการใช้ระแนงไม้พรางตา และควรเลือกใช้วัสดุปูพื้นที่เปียกได้ ไม่ลื่นและทำความสะอาดง่ายด้วย เพราะแม้จะอยู่นอก ห้องน้ำก็ยังนับว่าเป็นโซนที่เปียกชื้นเช่นกัน
แบบที่ 2 บ้านสไตล์ญี่ปุ่นประยุกต์
มีคำกล่าวว่า หากสิ่งใดที่ยึดมั่นไว้โดยไม่มีการปรับตัว สิ่งนั้นจะตายลงไป สิ่งนี้ดูจะไม่เกินจริงนัก โดยเฉพาะในแวดวงการศิลปวัฒนธรรม หรือแม้กระทั่งงานสถาปัตยกรรมก็ย่อมต้องมีพลวัตรเคลื่อนไปข้างหน้า แต่ถึงกระทั้นภูมิปัญญาดั้งเดิมก็ยังสามารถอยู่ร่วมกับยุคสมัยได้ผ่านมมุมองสายตาของคนรุ่นใหม่ ที่จับสิ่งเก่ามาประยุกต์
อย่างในประเทศญี่ปุ่นก็มีสถาปนิกที่พยายามหยิบเอาวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่หลากหลาย ภูมิทัศน์และประสบการณ์ดั้งเดิมที่คนญี่ปุ่นทุกคนมีในใจมาสร้างเป็นบ้าน แต่แทนที่จะแนะนำญี่ปุ่นโบราณ พวกเชาต้องการค้นความคิดและวัฒนธรรมที่สอดรับกับกิจกรรมประจำวันและแสดงความเป็น “ญี่ปุ่นสมัยใหม่” ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน
Teppei Hayashi ผู้อำนวยการสื่อที่อยู่อาศัย “Dolive” ได้ร่วมมือกับ Mr. Takeyuki Wakabayashi ตัวแทนของแบรนด์สิ่งทอยอดนิยม “SOU・SOU” ในเกียวโต และ Tani สถาปนิกและผู้ประกอบการด้านการผลิตเชิงสร้างสรรค์ “Outside Director Co., Ltd.” Makoto Shiri, Hiroshi Doichi ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารของ BEAMS ระดมสมองเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยมาตรฐานใหม่ เป็นการใช้ชีวิตแบบ “ญี่ปุ่น” ที่ไม่เคยมีมาก่อนด้วยการวางแนวคิดเกี่ยวกับคำว่า ““和”
ซึ่งมีความหมายถึงความกลมกลืน สไตล์ญี่ปุ่น สงบ นุ่มนวล และสบายแบบญี่ปุ่น ที่หากต้องการสัมผัสประสบการณ์แบบนี้อาจต้องไปที่โรงแรมหรูหราแบบญี่ปุ่น พวกเขาจึงตั้งคำถามว่า “แต่ถ้าคุณสามารถทำมันได้ในบ้านล่ะจะเป็นอย่างไร” นี่จึงเป็นที่มาของบ้านไม้หลังคาจั่วชายคาไหลลู่ลงมาขนาดใหญ่เส้นสายเฉียบคมที่ถูกลดระดับลงจนสุด เพื่อสร้างรูปแบบญี่ปุ่นที่ล้ำสมัยแต่ชวนให้คิดถึงอดีตในบางมุม บ้านจัดสรร
บ้านต้นแบบพื้นที่รวมชั้น 100.19 ตารางเมตร พื้นที่ชั้น 1 มี 59.62ตารางเมตร ส่วนพื้นที่ชั้นที่ 2 มี 40.57ตารางเมตร แต่ละพื้นที่ที่ปลูกสร้างก็จะใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก ทั้งนี้วัสดุก็แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย ให้ความรู้สึกเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม
ซึ่งทีมงานเห็นตรงกันว่าสำหรับคนรุ่นใหม่ควรสะท้อนภาพทิวทัศน์ที่สดชื่น ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ทางเดิน เป็นทางเดินที่ปูด้วยหินที่นำไปสู่ทางเข้าที่เรียกว่า “Toriniwa” ซึ่งพื้นที่ที่จากถนนนี้จะเชื่อมต่อผู้คนและรับสายลมพัดไปมาให้ความรู้สึกเปิดกว้างและสบายเสมอ
จากนั้นเมื่อเดินผ่านม่าน noren (แบบที่พบตามหน้าร้านคาเก่าๆ ) ที่ทำด้วยสิ่งทอ SOU・SOU เราจะพบว่าตัวเองอยู่ในพื้นที่ว่างที่มีองค์ประกอบแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม ผสมผสานกับองค์ประกอบแบบป๊อปที่แสดงความเป็น “ญี่ปุ่นสมัยใหม่” เป็นการรวมรสนิยมของทั้งสี่ฤดูกาล ในขณะที่ใช้วัสดุและเทคนิคแบบดั้งเดิมที่ชวนให้สัมผัสได้ถึง ““和” ในชีวิตของคุณตั้งแต่เริ่มเข้าประตูบ้าน เป็นความน่ารักที่แม้แต่ผู้ใหญ่ก็ยังชอบ
เมื่อมองขึ้นไปบนเพดานจะสัมผัสได้ถึงความหนักแน่นมั่นคงของคานไม้ขนาดใหญ่ จากจุดนี้สามารถเห็นท้องฟ้าสีฟ้าที่สวยงามจากสกายไลท์ที่อยู่ด้านบน ความรู้สึกของการถูกโอบล้อมด้วยชายคาต่ำและการเปิดโล่งของหลังคาให้ความสะดวกสบายที่เป็นเอกลักษณ์ ทางเข้าที่หันไปทางระเบียงและห้องสไตล์ญี่ปุ่น ติด ๆ กันเป็นหนึ่งในความใส่ใจในสไตล์ญี่ปุ่นดั้งเดิม เพียงแต่ปรับเปลี่ยนให้ใช้งานได้จริงตามรูปแบบที่เปลี่ยนไปของคนแต่ละยุค
จากสวนริมถนนสู่ห้องรับประทานอาหาร ห้องครัวเชื่อมต่อกันโดยไม่ต้องยกพื้น ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของบ้านโบราณที่จะมีส่วนที่เรียกว่า (Doma) เป็นห้องที่พื้นเป็นดินทุบให้แข็ง มักจะใช้กับห้องครัว ส่วนของเตาไฟ (Kamado) ในบ้านนี้ก็มีเช่นกันแต่ปรับเป็นพื้นคอนกรีต ผนังตกแต่งโทนสีเทาให้ดูคล้ายอารมณ์ของดิน แค่ครบครันฟังก์ชันใช้งานแบบทันสมัย
จากนั้นจะมีพื้นที่ยกระดับจากห้องอาหารสู่ห้องนั่งเล่นที่สามารถใช้เป็นเก้าอี้รับประทานอาหารได้ โซฟาบิวท์อินในห้องนั่งเล่นออกแบบให้เชื่อมต่อกับบันได ทำหน้าที่เป็นทั้งฟังก์ชั่นการใช้งานและโฟลว์ไลน์ (Flow line) หรือเส้นทางการไหลของพื้นที่ ในส่วนเพดานที่ถูกเจาะเป็นโถงสูงจะสร้างพื้นที่เปิดโล่ง ที่เน้นสัมผัสได้ถึงบรรยากาศความโปร่งสบาย และซึมซับความสงบของพื้นและผนังที่เน้นวัสดุธรรมชาติและสีเรียบๆ
ห้องสไตล์ญี่ปุ่นจะเชื่อมต่อกับห้องนั่งเล่นอย่างหลวมๆ เนื่องจากไม่มีผนังหรือฉากกั้นขนาดใหญ่ ทำให้มีสถานะ “แยกจากกัน” สามารถไปมาได้อย่างอิสระ และปรับเปลี่ยนการใช้งานได้หลากหลาย ผสมผสานการใช้งานและการไหลเข้าไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน
ผ้า “SOU•SOU” ถูกนำมาใช้ในส่วนต่างๆ ของบ้าน เช่น โนเรนที่ทางเข้าและห้องอาหาร วอลเปเปอร์ในห้องสไตล์ญี่ปุ่นและห้องน้ำ แผงผ้าที่ตกแต่งซุ้ม และผ้าหุ้มโซฟาและเบาะรองนั่ง อย่างภายในห้องชงชาสไตล์ญี่ปุ่นนี้จะมีวอลล์เปเปอร์ของ “SOU•SOU” อยู่บนผนังที่สามารถมองเห็นได้จากทางเข้า แทนที่จะใช้ม้วนกระดาษแขวนแบบโบราณเดิมๆ แต่ก็ยังมีการติดตั้งฉากโชจิสำหรับชมหิมะบนหน้าต่างที่หันไปทางเพื่อจับภาพชายคาและแสงที่นุ่มนวลชวนให้เพลิน
สำหรับพื้นที่บนชั้น 2 นั้นจะเป็นโซนส่วนตัว เพดานชั้นสองออกแบบให้ต่ำโดยใช้คานหลังคาขนาดใหญ่ ไม่มีฉากกั้นบนพื้น คุณจึงใช้งานได้อิสระสามารถต่อเติมได้ตามไลฟ์สไตล์ เช่น ห้องนอน พื้นที่ทำงาน หรือพื้นที่ว่าง
ส่วนโต๊ะทำงานหันหน้าไปทางช่องว่างโถงสูงใจกลางบ้าน คุณจึงสัมผัสได้ถึงสเปซที่กว้างและยังมองเห็นมีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ชั้นล่าง ไปจนถึงลานกลางแจ้งนอกบ้านได้ด้วย ส่วนพื้นเลือกปูพรมเพื่อลดเสียงรบกวนให้น้อยลง หน้าต่างบานเล็กในห้องนอนได้รับการออกแบบไม่ให้แสงเข้ามากเกินไปเพื่อการพักผ่อนที่เต็มอิ่ม
บ้านที่น่าอยู่ไม่ว่าจะเป็นบ้านโบราณหรือบ้านยุคใหม่ ควรมีพื้นที่ให้พักผ่อนหรือใช้สอยบริเวณภายนอกบ้านด้วย เพราะจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีทางเลือกในการพักผ่อนเปลี่ยนอิริยาบถและนำตัวออกจากอาคารไปใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น
อย่างเช่นการทำเป็นเฉลียงมีหลังคาคลุมไว้เป็นมุมนั่งเล่น ทานอาหาร ทักทายเพื่อนบ้าน ที่นอกจากให้ความรู้สึกปลอดโปร่งและใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น และยังเป็นตัวกลางเชื่อมต่อระหว่างบ้านกับส่วนอื่นๆ เช่น สวน หรือถนน ซึ่งการมีเฉลียงนอกจากใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้แล้ว ยังทำหน้าที่ปกป้องตัวบ้านจากแสงแดด ฝนได้เป็นอย่างดี