ไอเดียบ้านสไตล์นอร์ดิก กับเส้นสายคม ๆ ที่ดูมีเสน่ห์ชวนหลงไหล
ไอเดียบ้านสไตล์นอร์ดิก บ้านสไตล์นอร์ดิกมีที่มาด้วยการดำเนินชีวิต วัฒนธรรม และแนวคิดของคนแถบยุโรปเหนือ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ จึงได้มีการหยิบยืมรูปทรงธรรมชาติมาใช้ (Organic Form) เน้นความเรียบง่าย วัสดุที่โชว์ลวดลายเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของธรรมชาติ เช่น ลวดลายบนแผ่นไม้ ที่จะถูกนำมาปรุงแต่งให้ยังคงรูปแบบความงามทางธรรมชาติ และลดทอนความซับซ้อนให้ดูเรียบง่าย สบายตามากขึ้น ด้วยสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีช่วงเวลาหน้าร้อนที่สั้น
ลักษณะเด่นของบ้านสไตล์ Nordic ที่ปรับให้เหมาะกับเมืองไทย
ทำไมสไตล์บ้านของเมืองหนาว ถึงได้รับความนิยมในเมืองไทยที่แสนอบอ้าวกันล่ะ? นั่นก็เพราะโดยหลักการการทำบ้านนอร์ดิก จะเน้นการเปิดรับแสงธรรมชาติ และการเปิดพื้นที่โล่งเพื่อเชื่อมต่อกับธรรมชาติ ทั้งสายลมและแสงแดด ซึ่งผู้ออกแบบสามารถปรับให้ เหมาะสมกับสภาพอากาศเมืองไทยที่เป็นลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น (Tropical climate) ได้ไม่ยาก และต้องให้ความสำคัญกับทิศทางลม กับช่องแสงมากขึ้นกว่าบ้านสไตล์อื่น
ลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก ภายนอก
1.เส้นสายที่เรียบง่าย รูปทรงที่ไม่ซับซ้อน
การออกแบบตัวอาคารลักษณะเป็นทรง เรขาคณติที่ดูเรียบง่าย สบายตา ไม่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนเกินความจำเป็น เส้นสายที่สะอาด เป็นเส้นนำสายตาดึงดูดความสนใจ
2.จั่วสูง ภายในตัวบ้านโปร่ง โครงหลังคาลาดชัน มีกระจกเยอะหรือสูงเพื่อรับแสงธรรมชาติ
ตัวหลังคาจะใช้รูปแบบทรงจั่วสูง ภายในโปร่งโล่งสบาย การออกแบบที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย และโดดเด่นด้วยความงาม เน้นช่องแสงจากกระจกในการรับแสดงธรรมชาติ การยกจั่วสูงที่ทำให้หลังคาลาดชัน ซึ่งความลาดเอียงในระดับที่มากกว่าปกติจะช่วยให้น้ำฝนไหล ลงด้านล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดน้ำขังบริเวณหลังคาจนเกิดการรั่วซึมได้ง่าย
นอกจากนี้โครงหลังคาที่สูงยังช่วยให้ภายในตัวบ้านโปร่งโล่ง อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ดี หากเสริมช่องระบายอากาศเพิ่มจะเอื้อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในบ้านอยู่เย็นสบายตลอดเวลา เรามักจะเห็นบ้านนอร์ดิกชั้นเดียวมากกว่า แบบ 2 ชั้น
3.ใช้สีธรรมชาติ (Neutral) สีขาว เทา ดำ เบจ และวัสดุธรรมชาติ
เฉดสี บ้านสไตล์นอร์ดิก เน้นความเป็นธรรมชาติ “บรรยากาศ” ของความเรียบง่าย สงบ อบอุ่นและผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย มักตกแต่งด้วยโทนสีของธรรมชาติ อาทิ การเลือกใช้โทนสีขาวเป็นสีพื้น, สีเอิร์ธโทนอย่างสีน้ำตาลของไม้ เป็นต้น การเลือกวัสดุตกแต่งผนังที่คุมโทน โดยปูแผ่นไม้ส่วนหนึ่ง หรืออีกด้านหนึ่งปูด้วยแผ่นหิน ซึ่งวัสดุทั้งสองรูปแบบได้แรงบันดาลใจจาก วัสดุตกแต่งบ้านตามสไตล์นอร์ดิก สะท้อนถึงอารมณ์อันสุขุม สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและรักในธรรมชาติที่เป็นคุณลักษณ์เด่น
ลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก ภายใน
1.เน้นรูปทรงของเฟอร์นิเจอร์ที่เรียบง่าย
เน้นงานลอยตัว ปรับเปลี่ยน เคลื่อนย้ายง่ายวัสดุที่ปรับเปลี่ยน และเคลื่อนง่ายง่ายช่วย ช่วยลดพลังงานเสียตอบรับกับเทรนโลกร้อน
2.ใช้ผนังและเฟอร์นิเจอร์สีธรรมชาติ (Neutral)
เช่น สีขาว เทา ดำ เบจ และวัสดุที่มีส่วนของธรรมชาติ ผนังสีอ่อน โดยเฉพาะสีเบจอ่อนและสีขาว จะช่วยให้บ้านดูโปร่งตา สะอาด และสว่าง ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้อีกด้วย บ้านจัดสรร
3.ตกแต่งเพิ่มเติมด้วยต้นไม้
ประดับมุมต่าง ๆ ด้วยต้นไม้ ซึ่งนอกจากความร่มรื่น ต้นไม้หลายชนิดช่วยฟอกอากาศภายใน และยังสร้างบรรยากาศ เชื่อมธรรมชาติเข้าสู่ตัวอาคารได้เป็นอย่างดี
แบบบ้านสไตล์นอร์ดิก สีดำเข้มคม
เสน่ห์ของความเฉียบคมที่หลายคนหลงรักในบ้านสไตล์นอร์ดิก ทำให้หลาย ๆ คนยังคงมองหาตัวอย่างบ้านสไตล์นี้ เพื่อเก็บเอาไว้สร้างบ้านในฝัน ไม่เฉพาะที่ประเทศไทยเท่านั้น ที่ออสเตรเลียก็มีคนรสนิยมเดียวกันอยู่ไม่น้อย อย่างเช่นบ้านหลังนี้ที่อยู่ในท่ามกลางชุมชนที่มีบ้านอิฐบ้านอิฐและบ้านย้อนยุค ในเขตชานเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของแคนเบอร์รา คุณคงไม่คิดว่าจะเจอแนวหลังคาทรงจั่วสูง ของโรงนาสแกนดิเนเวียที่ดูโมเดิร์นแถวนี้ ซึ่งเราเชื่อว่าถ้าใครผ่านถนนเส้นนี้มาจะต้องรู้สึกสะดุดตากับสิ่งที่จะพบแน่นอน
บ้าน Ainslie Modern Scandi ตั้งอยู่ใน Ainslie ซึ่งเป็นย่านชานเมืองชั้นในที่มีชีวิตชีวา ของแคนเบอร์รา เมืองหลวงของเครือรัฐออสเตรเลีย เจ้าของบ้านมีความรู้สึกชื่นชอบการออกแบบ ของสแกนดิเนเวีย และใฝ่ฝันว่าจะสร้างบ้านสไตล์นี้สักหลัง จึงสรุปออกมาเป็นบ้านที่มี องค์ประกอบของอาคารหลังคาจั่วสูง เรียบง่ายไม่มีชายคาดูเหมือนโรงนา เส้นสายคมชัดทันสมัย วัสดุที่ใช้นอกจาก จะมีหลังคาเมทัลชีท เหล็ก กระจกที่ให้ความโมเดิร์นยังมีส่วนที่ห่อหุ้มด้วยไม้ เพื่อตอบสนองต่อบริบทชานเมือง Ainslie อย่างเหมาะสม
เมื่อก้าวผ่านประตูหน้าเผยให้เห็นลายเส้น สะอาดตาพร้อมรายละเอียดแบบมินิมอล จับคู่กับสีคอนกรีตเรียบๆ ที่ปรับให้อ่อนลงด้วยโทนสีไม้อันอบอุ่น
บ้านประกอบด้วยชุดของบ้าน ที่หันหน้าไปแนวทิศเหนือ-ใต้จำนวนสี่ชุด ซึ่งเชื่อมต่อกันผ่านช่องว่างตรงกลางและทางเดิน เพื่อให้ทุกอาคารได้รับแสงเท่า ๆ กัน แต่ละอาคารจะมีรูปทรงเหมือนกันคือหลังคาจั่ว แหลมสูงไร้ชายคา ผนังโปร่งๆ เหมือน “ศาลา” อาคารด้านซ้ายตกแต่งรูปด้านหน้าทำช่อง หน้าต่างในห้องนอนเป็นรูปร่าง สี่เหลี่ยมประกอบกับสามเหลี่ยมด้านบนล้อไปกับรูปทรงของบ้าน เหมือนมีบ้านเล็กๆ ซ้อนอยู่ในบ้านใหญ่ดูน่ารักสะดุดตา เมื่อตกแต่งไฟที่กรอบบ้านยามค่ำยิ่งดูสวยขึ้นไปอีก
ด้านในของช่องหน้าต่างรูปบ้านทำ เป็นเบย์วินโดว์นั่งเล่นที่กรอบหน้าต่างได้ เมื่อยามตื่นนอนมาตอนเข้าก็สามารถรับแสงและวิวสนามหญ้าและแนวต้นไม้ ภายนอกได้อย่างใกล้ชิดทันที ช่องแสงที่เป็นสามเหลี่ยมด้านบนทำให้มุมมองของห้องนอนเปิดสูงขึ้นไปอีกจนเห็นถึง ก้อนเมฆที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า
เอกลักษณ์สไตล์นอร์ดิก นอกจากความมินิมอล เรียบง่าย ไม่รกหรือดูยุ่งเหยิง เน้นการใช้งานได้จริงแล้ว ยังอยู่ที่การเลือกใช้สีโทนธรรมชาติ และการเปิดรับแสงที่ค่อนข้างมาก เนื่องจากประเทศแถบสแกนดิเนเวียนมีความหนาวเย็นมาก ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์น้อย ในสมัยก่อนจึงก่อปิดทึบใส่ช่องแสงน้อย ๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิภายใน ต่างจากสมัยนี้ที่เปลี่ยนใส่ผนังกระจกในพื้นที่ค่อนข้างกว้าง เพื่อดึงแสงธรรมชาติเข้ามาสู่ อาคารได้มากขึ้น เพิ่มความอบอุ่นผ่อนคลาย และเติมชีวิตชีวา ให้กับตัวบ้านไม่มืดและทึบ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด
อีกอาคารหนึ่งที่ผนังโปร่งใสเหมือน ศาลาจะรวมห้องนั่งเล่น ครัว และพื้นที่ทานข้าวไว้ด้วยกัน ออกแบบมาเพื่อแบ่งปันบรรยากาศอันน่า ทึ่งผ่านประตูกระจกที่ทำหน้าที่ เชื่อมโยงกับธรรมชาติภายนอก ทั้งต้นไม้ สนามหญ้า สระว่ายน้ำให้เป็นเสมือนพื้นที่เดียวกันกับบ้าน ภายในเต็มไปด้วยวัสดุสีธรรมชาติ อย่างเช่น ไม้บนพื้น เพดานกรุไม้สีอ่อนตามแนวเพดาน ชุดเฟอร์นิเจอร์ สร้างความอบอุ่น สะอาดตา และผ่อนคลาย
กระจกสูงจากพื้นจรดเพดานปูผนังส่วนใหญ่ของศาลา ช่วยให้คุณมองเห็นปลายแต่ละด้านของบ้าน พื้นที่ภายนอกกลายเป็นห้องกลางแจ้งที่ใช้งานได้จริง สวยงาม และน่าดึงดูดใจ การทำผนังที่เปิดออกได้กว้างช่วยระบายอากาศ รับลม ยังทำให้เกิดความสัมพันธ์ภายในและภายนอก ซึ่งมีความสำคัญมากในการออกแบบภายในและยังตอบสนองต่อสภาพอากาศของแครนเบอร่า ที่ฤดูร้อนจะมีอากาศอุ่นถึงร้อน แต่ฤดูหนาวที่มีอากาศเย็นถึง 0 องศา และยังมีปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ย 629 มม. ที่ตกกระจายทั่วไปตลอดทั้งปี
ในเมืองหนาวแม้จะมีแสงจากด้านข้าง บางครั้งก็ยังไม่เพียงพอ สถาปนิกจึงใส่ช่องแสงบนหลังคาเป็น skylight เปิดให้แสงสามารถเข้าสู่ตัวบ้านได้จากด้านบนในช่วง ที่บ้านต้องการ เช่น เคาน์เตอร์ครัว มุมนั่งเล่น ซึ่งตรงจุดนี้หากนำมาใช้ในบ้านไทย ๆ ที่แสงแดดจัด จะทำให้บ้านร้อนจนเหมือนอยู่ในเตาอบ
การสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิกในประเทศเมืองร้อน ต้องปรับประยุกต์ให้เหมาะกับการใช้ชีวิต เพราะบ้านเมืองหนาวจะมีองค์ประกอบบ้านที่รับแสงได้มาก ถ้านำมาใช้เหมือนเป๊ะทุกอย่างโดย ไม่พิจารณาความเหมาะสมจะทำให้บ้านร้อนจนอยู่ไม่สบาย ส่วนหลังคาที่ไร้ชายคายังทำให้บ้าน ไม่มีชายคาปกป้องผนัง จนเกิดเป็นความชื้นสะสมทำ ร้ายผนังได้ จึงต้องหาวิธีป้องกันผนังด้านที่ต้องสัมผัสกับฝน การป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน จากกระจกด้วยการเลือก วัสดุที่เหมาะกับสภาพอากาศลดร้อนลดชื้น