บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่น “บ้าน” นอกเหนือจากการที่จะควรจะเป็นที่พักที่อาศัยของคนภายในครอบครัว องค์ประกอบมั่นคง แข็งแรง ไม่มีอันตรายแล้ว ในสมัยที่ไลฟ์สไตล์นิสต้าครองบ้านครองเมือง บริษัทรับออกแบบบ้านต่างสรรสร้างเทรนด์บ้านที่ตอบปัญหาไลฟ์สไตล์กันบ่อยมา สำหรับปีนี้ เทรนด์แบบบ้านสไตล์ประเทศญี่ปุ่นแนวผสมกำลังเดินทางมาแรงแซงทุกโค้ง แปลงเป็นแบบบ้านในฝันที่คนรุ่นหลังใฝ่ฝันต้องการครองสักข้างหลัง
บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่น อบอุ่นด้วยวัสดุไม้ เรียบง่ายอย่างลงตัว
บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่น บ้านสไตล์ญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะมีทรงเหลี่ยมและทำจากไม้เป็นหลัก นอกจากนี้ยังผสมผสานระหว่างปูนกับไม้ออกมาได้อย่างลงตัวอีกด้วย หากอยากได้บ้านสไตล์ญี่ปุ่นที่แท้จริง สิ่งที่ขาดไปไม่ได้ คือ การตกแต่งที่น้อยชิ้น แต่มากฟังก์ชัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบ้านสไตล์มินิมอลนั่นเอง
นอกจากนี้ยังต้องมี ประตูโชจิ (Shoji) เสื่อทาทามิ (Tatami) โต๊ะโคทัตสึ (Kotatsu) รวมถึงห้องรองเท้าด้วยนะ เพราะนี่คือเอกลักษณ์ของบ้านคนญี่ปุ่นเลย มีแค่ประมาณนี้ กลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่นก็มาเต็มแล้ว
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นกำลังเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก นั่นก็เพราะญี่ปุ่นมีเอกลักษณ์โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยี อาหารการกิน การดูแลเอาใจใส่สุขภาพร่างกาย การใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมไปถึงการให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพมาตรฐานบ้านสไตล์ญี่ปุ่นก็เช่นเดียวกัน
เป็นการออกแบบที่มุ่งเน้นความสวยงามกลมกลืนกับธรรมชาติผสมผสานกับความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญเรื่องความคุ้มค่าในการใช้งานทุกพื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
แต่ในขณะเดียวกัน บ้านสไตล์ญี่ปุ่น ก็ให้ความสำคัญกับอารมณ์และความรู้สึกของผู้อยู่อาศัยเป็นลำดับแรก ทำให้บ้านลักษณะนี้มีบรรยากาศแห่งความอบอุ่น เป็นมิตรกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่าสังคมคุณภาพเริ่มจากที่บ้านและครอบครัว
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นที่ไม่ว่าจะเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่น โบราณ บ้านสไตล์ญี่ปุ่น 2 ชั้น จึงได้รับความสนใจทั้งการออกแบบและการตกแต่ง ที่ลงตัวกับการใช้ชีวิต อีกทั้งดีไซน์และความเรียบง่าย จึงทำให้บ้านสไตล์ญี่ปุ่นตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่เป็นอย่างดี
องค์ประกอบของบ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่น ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์
ไม่ว่าจะเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ บ้านสไตล์ญี่ปุ่น งบน้อย บ้านสไตล์ญี่ปุ่น 2 ชั้น หรือบ้านสไตล์ญี่ปุ่นที่ประยุกต์กับแบบบ้านรุ่นใหม่ในปัจจุบันนั้น เราสามารถมองออกได้เลยว่าบ้านหลังไหนเป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่น ซึ่งบ้านสไตล์ญี่ปุ่นนั้นไม่หมายความเพียงแค่บ้านที่ขนาดเล็ก หรือเป็นบ้านแนวมินิมอลเพียงอย่างเดียว องค์ประกอบของบ้านสไตล์ญี่ปุ่นยังมีเอกลักษณ์อื่น ๆ ที่แสดงว่าเป็นองค์ประกอบด้วยเช่นกัน
- ประตูทางเข้าหลักของบ้านสไตล์ญี่ปุ่น
จุดเด่นที่มีมาตั้งแต่บ้านสไตล์ญี่ปุ่นโบราณ คือ เป็นประตูรั้วบ้านที่กั้นสัดส่วนระหว่างพื้นที่บ้านกับพื้นที่สาธารณะ ประตูทางเข้าหลักมักนิยมทำด้วยไม้บานใหญ่ทรงสูง และมีหลังคาครอบกันแดดกันฝน รวมถึงรั้วบ้านที่มีความสูงเพื่อความเป็นส่วนตัวของบริเวณบ้านที่มักจะสร้างด้วยหิน หรือคอนกรีต - หลังคาบ้านสไตล์ญี่ปุ่น
เนื่องจากเป็นประเทศที่อยู่ในร่องมรสุม บ้านสองชั้นร่วมสมัย สภาพอากาศของประเทศญี่ปุ่นจึงมีฝนตกชุกคล้าย ๆ กับประเทศไทยของเรา หลังคาบ้านสไตล์ญี่ปุ่นมักจะออกแบบให้ยื่นยาวออกมาจากตัวบ้านค่อนข้างมาก เพื่อกันแดดกันฝนไม่ให้สาดเข้าภายในบ้านเวลาเปิดประตู - พื้นที่สำหรับถอดรองเท้าก่อนขึ้นบ้าน
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นกับเอกลักษณ์อีก 1 อย่างที่ชัดเจน คือ มีพื้นที่ถอด จัดเก็บรองเท้า และเปลี่ยนรองเท้าแบบแบ่งสัดส่วนชัดเจน เนื่องจากคนญี่ปุ่นนิยมใส่รองเท้าแตะในบ้าน จึงให้ความสำคัญกับพื้นที่ตรงนี้มาก และพื้นที่สำหรับถอดรองเท้า มักจะสร้างต่ำกว่าพื้นบ้านลงมาประมาณ 1 ขั้นบันได - พื้นที่ใช้งานแบบอเนกประสงค์
บ้านสไตล์ญี่ปุ่นโบราณอาจจะแบ่งห้องหับต่าง ๆ สำหรับใช้งานอย่างชัดเจนก็จริง แต่บ้านสไตล์ญี่ปุ่นยุคใหม่นั้นฟังก์ชั่นการใช้งานของห้องก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย ๆ เช่นเดียวกัน เพื่อใช้ประโยชน์ทุกพื้นที่ให้คุ้มค่ามากที่สุด อย่างเช่น ห้องที่ปูที่นอน หมอนต่าง ๆ อุปกรณ์เหล่านี้จะถูกเ ก็บเข้าไปไว้ในตู้เมื่อไม่ใช้งาน เพื่อปรับเป็นพื้นที่นั่งเล่น รับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ และช่วยให้บ้านได้พื้นที่โล่งกว้าง สบายตามากยิ่งขึ้น - ประตูเลื่อนกรอบไม้
เนื่องจากบ้านสไตล์ญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีพื้นที่จำกัดและนิยมเปิดพื้นที่เข้าหากันเพื่อความปลอดโปร่ง ประตูที่ใช้จึงเป็นประตูบานเลื่อนที่กรอบประตูทำจากไม้ และบานประตูทำจากกระดาษ เพื่อให้แสงจากธรรมชาติลอดผ่าน เรียกได้ว่าได้ทั้งดีไซน์ความสวยงาม ประโยชน์การใช้สอย แถมยังประหยัดพลังงานอีกด้วย
แบบบ้านสไตล์ญี่ปุ่น พื้นที่ 79 ตร.ม. ที่ลงตัว
บ้านสองชั้น พื้นที่ 79.5 ตารางเมตรนี้ อยู่ในเมืองเมืองอิบารากิ จังหวัดโอซาก้า ถึงจะเป็นบ้านค่อนข้างเล็กแต่ก็รวมเอาฟังก์ชันที่จำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่ เช่น พื้นที่สำหรับเก็บมอเตอร์ไซค์และอุปกรณ์เอาท์ดอร์ ห้องเด็ก ครัว พื้นที่นั่งเล่น ราวตากผ้าในร่มภายใต้หลังคาจั่วที่มีความลาดเอียงไม่เท่ากัน
ด้านหนึ่งที่องศาลาดเอียงมากกว่าอีกด้านทำให้เหมือนหลังคามีขนาดใหญ่ เพื่อให้ระบายน้ำฝนได้ดีและจัดสัดส่วนให้ใกล้เคียงกับของอาคารชั้นเดียว ดูแล้วไม่แปลกแยกจากบ้านหลังคามุงกระเบื้องโดยรอบ
จุดเด่นอื่นๆ นอกพื้นที่หลังคาที่ค่อนข้างกว้างแล้ว ยังมีระเบียงขนาดใหญ่สำหรับใช้งาน outdoor สองด้าน และดาดฟ้าที่ต่อยอดขึ้นไปเหนือหลังคา เป็นเสมือนประภาคารที่ให้วิวในมุมสูงมองเห็นวิวรอบ ๆ บ้าน
บริเวณรอบทางเข้าโรยกรวดเอาไว้รอบ ๆ เพื่อให้เท้าไม่เปื้อนเลอะดินในช่วงที่มีฝน ประตูบ้านหลักยกระดับเหนือพื้นเล็กน้อยมีกันสาดเป็นแผ่นเหล็กบาง ๆ ยื่นออกมาง่ายๆ ใกล้ตัวอาคารเป็นประตูไม้ที่เปิดได้กว้างสำหรับเข้าโรงรถเก็บจักรยาน ส่วนรถยนต์จะจอดไว้ใต้ถุนอาคาร ตัวสร้างจากวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างไม้จริง อิฐ ผนังลูกฟูก ไม้อัด กระจก ส่วนที่ไม่ต้องการแสงมากจะค่อนข้างปิด มีช่องแสงเล็ก ๆ แต่ในจุดที่บ้านต้องการแสงมากกประตูจะเปิดได้กว้างหรือติดกระจกขนาดใหญ่
จากชั้นล่างที่เก็บจักรยานเก็บของใช้และห้องนอนคุณพ่อคุณแม่ ขึ้นบันไดมาจะเป็นชันลอยจัดเป็นส่วนกลางที่ใช้งานร่วมกันของครอบครัว ประกอบด้วย ครัว โต๊ะทานข้าว มุมนั่งเล่น ซึ่งจะมีช่องเปิดเชื่อมต่อออกไปนอกระเบียงได้ ทำให้ไม่รู้สึกว่าบ้านดูแคบ ถัดจากโต๊ะทานข้าวจะมีบันไดนำขึ้นสู่ห้องนอนเด็ก ๆ เป็นการเล่นระดับบ้านที่สร้างความเชื่อมต่อทางพื้นที่และสายตาได้ดี บ้านราคา 3 แสน
มุมครัวเล็ก ๆ เป็นเคาน์เตอร์แบบ 2 ด้านมีที่ว่างระยะพอดีให้หมุนตัวหยิบจับใช้งานได้ง่ายๆ ท็อปเคาน์เตอร์ใช้สแตนเลสที่รวมเข้ากับอ่างล้างจานและเตาเหมือนเป็นชิ้นเดียวกัน เข้าชุดกับเครื่องดูดควันสำเร็จรูปของ Fuji Kogyo บานประตูและลิ้นชักทำจาก Sina Flash และทาสีด้วยสีน้ำมันสีขาวกึ่งมันเงา เพื่อการทำความสะอาดที่ง่ายดาย มือจับประตูและลิ้นชักเลือกแบบสแตนเลสเส้นกลม ๆ เพราะใช้งานง่ายที่สุด
ทางขึ้นสู่ครัวสามารถเข้าได้ 2 ทางคือด้านในบ้าน และจากบันไดด้านข้าง ทำให้เจ้าของบ้านมีหลายทางเลือกในการเข้าถึงฟังก์ชันการใช้งาน หากวันไหนอากาศดี ๆ ก็สามารถเปลี่ยนบรรยากาศออกมาทานข้าวนอกบ้านบริเวณระเบียงได้ง่ายๆ
ห้องนอนคุณพ่อคุณแม่ตั้งอยู่ในกึ่งชั้นใต้ดิน เพื่อให้คุณพ่อที่ทำงานกะกลางคืนสามารถนอนหลับได้อย่างสงบในเวลากลางวัน ในขณะที่ส่วนกิจกรรมหลัก ๆ ที่มีความเคลื่อนไหวมากของบ้านจะอยู่ที่ห้องนั่งเล่นและรับประทานอาหารบนชั้นลอย ส่วนห้องเด็กที่ไต่ระดับขึ้นไปจะเป็นพื้นที่หนึ่งห้องโล่งๆ ไม่มีผนังกั้น ดูกว้างขวางและเป็นอิสระ จากบันไดเก็บติดบนเพดานในห้องเด็กจะพาขึ้นไปบนชั้นดาดฟ้า ที่สามารถมองเห็นหลังคากระเบื้องโดยรอบ ต้นศาลเจ้า ริมฝั่งแม่น้ำ และ Abeno Harukas อยู่ไกลๆ ได้เต็มที่
บ้านเล่นระดับ (Split Level) เป็นบ้านที่มีลักษณะของพื้นที่ใช้สอยภายในลดหลั่นกัน การเล่นระดับจะช่วยเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับบ้านที่ค่อนข้างเล็ก เพราะใช้การเหลื่อมของพื้นที่เป็นการแบ่งฟังก์ชันอย่างเป็นสัดส่วน โดยไม่มีพื้นเพดานหรือผนังปิดทึบจึงไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด ระยะทางในการเดินขึ้นแต่ละชั้นก็ไม่ได้สูงมากเท่าบันไดบ้านปกติ
นอกจากในเรื่องการใช้งานแล้ว บ้านเล่นระดับยังทำให้บ้านมีลูกเล่น เติมมิติของพื้นที่ใช้งาน ดูน่าสนใจกว่าการวางระดับพื้นในระนาบเดียวกัน นอกจากใช้ประโยชน์ได้ดีแล้วยังสนุกสนานมากขึ้น