บ้านชั้นเดียวสุดน่ารัก ต้องยอมรับว่าสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ขนาดของครอบครัวเล็กลง บางคนก็อยู่เป็นโสด บางบ้านเลือกอยู่กันสองคนและตัดสินใจที่จะไม่มีลูกมากขึ้น เหมือนบ้านหลายหลังในญี่ปุ่นที่เจ้าของเป็นคู่สามีภรรยาต้องการเริ่มต้นสร้างบ้าน โดยมีโจทย์เนื่องจากสมาชิกในบ้านมีเพียงแค่สองคน จึงไม่จำเป็นต้องมีบ้านหลังใหญ่เล็ก ๆ ก็ได้ แต่คำว่าขนาด “เล็ก” คืออะไร ต้องเล็กขนาดไหนจึงจะพอดี วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกับบ้านหลังคาจั่วชั้นเดียวสุด Cute อบอุ่นหลังนี้กัน
บ้านชั้นเดียวสุดน่ารัก และน่าอยู่
ชีวิตใหม่ที่จะเริ่มต้นในบ้านชั้นเดียวสุดน่ารัก เกิดด้วยความที่สมาชิกในบ้านมีไม่มาก จึงคิดว่าบ้านชั้นเดียวก็พอกับการใช้สอย เพราะต้นทุนการก่อสร้าง และค่าสาธารณูปโภค ค่อนข้างค่อนข้างต่ำ และหากต้องอยู่อาศัยไปจนสูงวัยการมีบ้านที่ใช้ครบฟังก์ชัน ในชั้นเดียวไม่ต้องเดินขึ้น ลงดูให้เสี่ยงพลัดตกหกล้ม ก็ดูจะตอบโจทย์ที่สุด ในขณะที่คนญี่ปุ่นจะมีหัวใจคิคุ ชอบความน่ารัก เรียบง่าย เข้าถึงได้แบบไร้กาลเวลา อาคารหลังคาจั่วที่ต้อนรับด้วยประตูโค้งๆ มีสวนหน้าบ้านปักโคมไฟเหล็กดัดตรงทางเดิน แค่นี้ก็ทำให้หัวใจละลายได้ทุกวันเมื่อกลับถึงบ้าน
แปลนบ้านกะทัดรัดพื้นที่ประมาณ 84.2 ตาราเมตร ถือว่าไม่แคบมากพออยู่สบาย ไม่ต้องขึ้นบันได ดูแลรักษาบ้านและจัดการได้ง่าย แต่เรายังเพิ่มความรู้สึกกว้าวขึ้นได้อีก โดยสถาปนิกพยายามจัดให้โซนการใช้ชีวิตร่วมกันอยู่ในบริเเวณเดียวกัน เช่น ครัว ห้องทานข้าว ห้องนั่งเล่น แบบไม่แบ่งแยกเป็นห้องเล็กห้องน้อย บ้านทั้งหลังจึงโปร่งโล่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวกและระบายอากาศได้ดี ระยะทางของความใกล้ชิด ในครอบครัวก็ใกล้เข้ามาด้วย จากมุมนี้สามี (และอาจจะมีลูกๆ ) จะรู้สึกได้ถึงการมีอยู่ของภรรยาใน ขณะที่กำลังทำอาหารหรือกำลังล้างจานอยู่ หรือจะเข้ามาช่วยก็ได้ง่ายๆ คุณแม่บ้านจึงสามารถลดความเครียด จากงานบ้านได้เพราะยังรู้สึกถึงการมีส่วนร่วม
นอกจากนี้ ห้องนั่งเล่นและห้องรับประทานอาหาร ได้รับการออกแบบ เพื่อให้ทุกคนรับประทาน อาหารร่วมกันโดยไม่ต้องดูทีวี การมีบทสนทนาในครอบครัวมากขึ้นในช่วงเวลา ที่ทุกคนมารวมตัวกัน ได้แบ่งปัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่พบเจอมาระหว่างวันก็ เป็นประโยชน์ในเชิงบวกเช่นกัน
ในบ้านนี้เราจะเห็นตู้และชั้นวางที่ตั้งอยู่บนพื้นค่อนข้างน้อย เพราะทีมงานออกแบบจัดให้อยู่ตามส่วนต่างๆ ของบ้านในพื้นที่อื่นๆ เช่นการกั้นชั้นวางบนเคาน์เตอร์ + ที่เก็บของตามซอกมุมผนัง บ้านจัดสรร โต๊ะทำงานบิลท์อินติดหน้าต่าง บ้านจึงประหยัดพื้นที่จัดเก็บและใช้งานมากขึ้นไปอีก ดูไม่รกตา และใช้งานพื้นที่ในบ้านที่ไม่มีตู้ขัดขวางทางเดินในบ้านได้หลากหลายมากขึ้น
บ้านชั้นเดียวญี่ปุ่น
ชุดสีของบ้านนี้เน้นโทนสีอ่อนๆ อย่างสีขาว สีครีม เพิ่มเติมความอบอุ่นด้วยงานไม้ อิฐโชว์แนว และกระเบื้องสีแบบดินเผาที่วางแพทเทิร์นเป็นแนวทแยง ให้ความรู้สึกแบบบ้านในชนบทหรือสไตล์คันทรีที่มีความร่วมสมัยอยู่
บ้านชั้นเดียวที่อบอุ่น ผ่อนคลายน่าอยู่ คงเป็นความฝันที่เรียบง่ายของใครหลาย ๆ คน เหมือนบ้านหลังนี้ที่แม้จะขนาดไม่ใหญ่โต แต่ก็สร้างความสะดุดตาด้วยดีไซน์ที่ไม่ซับซ้อน มีงานไม้และสีขาวเป็นจุดเด่น ทั้งภายนอกและภายในของบ้านโปร่งสบายตา จัดการดูแลตกแต่งบ้านได้ง่าย ถ่ายรูปอัพลงโซเชียลได้ทุกมุม ไม่ว่าจะอยู่จุดไหนของบ้านก็ให้บรรยากาศที่เป็นมิตร ชวนให้รู้สึกว่าอยากกลับบ้านเร็วขึ้น
บ้านหลังนี้มีพิกัดอยู่ที่บ้านท่ารั้ว ดอยสะเก็ด เชียงใหม่ เนื้อที่ 60 ตร.ว. พื้นที่ใช้สอย 100 ตร.ม. หน้าบ้านกว้างขวางมีสนามหญ้าเขียว ๆ และที่จอดรถได้ถึง 2 คัน ภายในประกอบด้วย 2 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ มีห้องน้ำในตัวทั้ง 2 ห้อง เจ้าของบ้านให้เหตุผลว่าที่เลือกที่ดินผืนนี้ เพราะบริบทที่ดินสงบเงียบเพื่อนบ้านอัธยาศัยดีทุกคน มีบ้านข้าง ๆ ที่เล่นดนตรีเพราะ ๆ ฟังได้เพลิน ๆ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายตามไปด้วย ดังนั้นจึงรู้สึกว่าอยากสร้างบ้านที่เหมือนได้พักผ่อนทุกวัน ซึ่งสไตล์ “โมเดิร์นมินิมอล” มีสวนล้อมรอบเป็นคำตอบที่ตรงใจ
เนื่องจากเจ้าของบ้านมีพื้นฐานความรู้ในงานสถาปัตยกรรม จึงออกแบบเองและเขียนแบบเองทั้งหมด โดยเริ่มจากการศึกษาสภาพแวดล้อมว่าตรงจุดไหนจะพื้นที่รับลม พื้นที่รับแสง ตำแหน่งที่ควรหลีกเลี่ยงแสงและพรางสายตาผู้คนที่ผ่านไปมา ด้วยการนำกล่อง Mass สี่เหลี่ยมไปตั้งดูทิศทางแสงและร่มเงา เมื่อได้องค์ประกอบการออกแบบก็เริ่มลงมือร่างแปลน ส่วนตัวเจ้าของชอบบ้านที่แนวหน้ากว้าง ทำให้เลือกออกแบบบ้านเป็นตัว L เพราะเหลือพื้นที่ที่สำหรับจัดสวนตรงกลาง และทุกด้านของบ้านก็มองเห็นสวนได้เท่า ๆ กัน
ตัวบ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากแสงที่รุนแรง มีแสงสวยงามในยามเช้า จึงใส่ช่องเปิดด้านหน้าเป็นประตูไม้บานกระจกในบริเวณกว้าง ส่วนด้านข้างที่เป็นเหมือนฐานของตัว L เป็นห้องกระจกหันหน้าทางทิศใต้ก็จริง แต่มีหลังคากันสาดยื่นออกมากว้างพอที่จะช่วยไม่ให้ภายในได้รับผลกระทบจากแสง ทิศทางนี้ได้รับลมที่ดี จึงมีหน้าต่างบานเกล็ดสูงจากพื้นถึงเพดานเปิดให้ลมเข้าไปเติมความสบายในบ้านได้มาก
เมื่อเข้ามาภายในบ้านจะพบกับความโปร่งโล่งจากการจัดแปลนแบบ open paln โดยจัดให้โถงนั่งเล่นใช้ space เดียวกันกับโต๊ะทานอาหาร และครัวไซส์เล็ก ๆ ที่อยู่ถัดไปทางด้านหลัง เพื่อให้คนในบ้านมีกิจกรรมอยู่ด้วยกันแบบไม่รู้สึกอึดอัดหรือคับแคบ ตัวโถงหลักนี้จะเปิดให้ลมเข้า 2 ได้ทิศทาง ทำให้ลมพัดผ่านตลอดเวลาบ้านจึงเย็นสบาย อยู่ง่ายๆ ไม่ร้อน
สำหรับการตกแต่งบ้านจะมีความรู้สึกผสมผสานระหว่างความเป็นโมเดิร์น ด้วยฟอร์นิเจอร์สีขาวและไม้สีอ่อนๆ ดีไซน์เส้นสายเรขาคณิตโค้งมนแบบมินิมอล เน้นความรู้สึกน่ารักด้วยของแต่งบ้านกระจุกกระจิกที่ไม่มีมากเกินความจำเป็น แต่พื้นบ้านปูด้วยไม้ปาร์เก้ลายก้างปลา (Herringbone wood pattern) บ้านเดี่ยว สีน้ำตาลเข้มที่เคยได้รับความนิยมสูงมากเมื่อหลายสิบปีก่อน ซึ่งเข้ากันได้ดีกับกรอบวงกบ ประตูหน้าต่างที่ทำจากไม้แท้ย้อมสีเข้มเช่นเดียวกัน อารมณ์แบบร่วมสมัยนี้ยังเชื่อมต่อไปยังผนังอิฐช่องลมที่เลือกลวดลายกลิ่นอายวินเทจเล็ก ๆ
จากผนังกระจกและประตูบานเฟี้ยมที่เปิดได้กว้าง เชื่อมต่อมาที่ระเบียงด้านหลังบ้าน ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก เจ้าของบ้านสร้างผนังอิฐช่องลมเป็นแผงยาวประมาณ 3 เมตร เพื่อช่วยกรองแสงในส่วนที่ตรงกับพื้นที่ใช้งานในบ้าน ช่องว่างที่เป็นรูพรุนเหล่านี้ทำให้บ้านยังคงรับแสงตามธรรมชาติได้บ้าง ลมสามารถลอดผ่านเข้าไประบายอากาศในบ้าน และยังช่วยพรางสายตาของผู้คนที่ผ่านไปมา พร้อมกับสร้างฉากสวยๆ ให้บ้านไปพร้อมๆ กัน
บ้านชั้นเดียวกลางธรรมชาติ
เราสามารถสร้างบ้านที่รู้สึกถึงความแพง หรู ดูดี แต่ประหยัดได้หากเลือกวัสดุที่ไม่แพง แล้วนำมาประยุกต์ใช้ด้วยการออกแบบที่ดี ตัวอย่างบ้านนี้ที่ตั้งอยู่ที่ torre en conill ย่านที่ร่ำรวยมากในวาเลนเซียประเทศสเปน มีโครงการบ้านชื่อ JA House ผลงานของPLAYstudio ที่พิสูจน์ให้เห็นว่าการออกแบบที่นำเสนอ ‘ความหรูหรา’ แบบต้นทุนต่ำ ทำได้จริง ด้วยกลุ่มอาคารชั้นเดียวโครงสร้างทางเรขาคณิตที่ห่อหุ้มด้วยสีขาว เพื่อผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมกับความร่วมสมัยไปพร้อม ๆ กัน
ภาพที่แปลกตาของ บ้านชั้นเดียว ทรงลูกบาศก์และผนังสีขาว หรือหลังคาลาดเอียงต่อกันยาวกระจายตัวไปตามพื้นที่นี้ เป็นการล้อรูปแบบบุคลิกและเอกลักษณ์เฉพาะในท้องถิ่นที่มีการจัดโครงสร้างทางการเกษตรของ “Huerta de Valencia” ให้กลายเป็นสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของวาเลนเซีย สร้างความแตกต่างของการก่อสร้างใหม่นี้อย่างมีสุนทรียะในสภาพแวดล้อมของสีเขียวที่โดดเด่น
หากมองจากด้านหน้าจะไม่เห็นว่า บ้านนี้คล้ายกับอาคารในย่านการเกษตรแถบนี้ตรงไหน แต่ถ้าหันไปดูด้านหลังจะพบว่าการจัดแปลนอาคาร หลังคาที่ไม่หลายรูปแบบต่อเนื่องกันไป สะท้อนภาพกลุ่มก้อนของอาคารใน Huerta de Valencia อย่างไร
ต้นแบบที่เป็นแรงบันดาลใจใน การออกแบบบ้านนี้มา จากอาคารในย่านเกษตรกรรม ที่พบได้ทั่วไปในท้องถิ่น นำมาประยุกต์ ลดทอนจนได้ออกมาเป็น บ้านโมเดิร์น ที่ชวนสะดุดตา
แต่ละห้องที่กระจายตัวอยู่มีรูปแบบ และและฟังก์ชันภายในของตัวเอง ด้วยแนวคิดเรื่องการแยกตัว และความเป็นส่วนตัว โดยใช้ตัวอาคารเป็นตัวกำหนด ทำให้บางส่วนถูกอีกด้านของอาคารบัง ด้านหลังปิดค่อนข้างทึบหันหลังให้เพื่อนบ้าน ในขณะที่ด้านหน้าที่ไม่ต้องการอุปสรรคบดบัง เปลี่ยนมาใช้วัสดุกระจก เป็นบริเวณกว้าง บางช่วงอาคารกระจกสูงจากพื้นถึงเพดาน เพิ่มความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด กับภูมิทัศน์สีเขียว และสระว่ายน้ำที่อยู่ด้านหน้าได้เป็นอย่างดี
ความรู้สึกหรูหราอาจไม่ได้มาจากของตกแต่ง ที่แวววาวด้วยคริสตัลราคาแพง หรือเฟอร์นิเจอร์ชิ้นละ เป็นแสนเป็นล้าน แต่อาจจะแสดงในรูปแบบของ การเลือกใช้ชุดสีในบ้าน เช่นโทนสีขาว เทา ดำ ที่ให้ความรู้สึกคลาสสิคไร้กาลเวลา หรือการสร้างจุดเด่นให้บ้านอย่างคานคอนกรีต ที่ทำเป็นระแนงขนาดใหญ่ คลุมพื้นที่กลางแจ้งนั่งอาบ แดดข้างสระน้ำ ก็เติมความรู้สึกแกรนด์ให้บ้านได้เช่นกัน
ช่องแสงที่สูงจากพื้นถึงเพดานในหลายๆ จุดของบ้าน เพิ่มประสิทธิภาพในการรับแสงแดดธรรมชาติ ช่วยให้บ้านสว่างอย่างมีชีวิตชีวาในช่วงกลางวัน
ในช่วงกลางคืนความหรูหรา ได้มาจากแสงประดิษฐ์ ทีมาในหลายรูปแบบทั้งแบบ direct light จากโคมไฟให้แสงสว่างในห้องนั่งเล่น ครัว และแบบ indirect light ใส่ลูกเล่นไฟซ่อนตามแนวจั่วเพดาน แนวผนัง ทำให้เห็นลำแสงยาวเหมือนแสงเลเซอร์ ดึงดูดสายตาให้ต้องหันไปโฟกัสโดยที่ไม่ต้องเสียเงินซื้อโคมไฟแพงๆ