ตัวอย่าง บ้าน 2 ชั้น บ้าน 2 ชั้น คือ บ้านที่มีชั้นบนและชั้นล่าง เชื่อมต่อด้วยบันไดบ้าน โดยพื้นที่ชั้นบนและชั้นล่างมีอัตราส่วนเท่า ๆ กัน มีฟังก์ชั่นและห้องต่าง ๆ รองรับการอยู่อาศัย ตามการออกแบบแปลนทั้งชั้นบนและชั้นล่าง
ข้อดีของ บ้าน 2 ชั้น สร้างได้แม้ขนาดที่ดินจำกัด หากมีที่ดินขนาดเล็กแต่ต้องการพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่มากพอ หรืออยู่อาศัยหลายคน ต้องการห้องนอนหลายห้อง บ้าน 2 ชั้นตอบโจทย์มากกว่า แม้ว่าบ้าน 2 ชั้น จะใช้งบประมาณก่อสร้างมากกว่าในการก่อสร้าง บนขนาดที่ดินเท่ากัน แต่ได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว
เหมาะกับครอบครัวขนาดกลาง-ใหญ่ ครอบครัวขนาดกลาง-ใหญ่ ที่อยู่อาศัยกันหลายคนในบ้านหลังเดียว การอยู่บ้าน 2 ชั้น สามารถแบ่งพื้นที่ใช้สอย แบ่งชั้นได้อย่างชัดเจน สามารถจัดสรรพื้นที่ ใช้สอยหรือห้องต่าง ๆ ได้อย่างเป็นสัดส่วน ต่อให้มีสมาชิกครอบครัวหลายคนก็ไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด
ตัวอย่าง บ้าน 2 ชั้น
แบบที่ 1 บ้าน 2 ชั้นรวมเป็น 1 ปลูกต้นไม้ในบ้าน
ปกติถ้าพูดถึงบ้าน 2 ชั้น เชื่อว่าภาพที่ปรากฏในหัว จะต้องเป็นอาคารที่มีพื้นเพดานปิดกั้น และมีบันไดอยู่ตรงกลางหรือบริเวณมุมใดมุมหนึ่งช่วยนำทางขึ้นสู่ชั้นบน แต่บ้านใน Ono-cho, Ibi-gun, จังหวัด Gifu ประเทศญี่ปุ่นนี้ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง
เนื่องจากต้องการให้อาคาร มีเพดานสูงและเปิดโล่ง โครงสร้างจึงวางหลังคาขนาดใหญ่ ไว้บนกล่องเหมือนเสาหนาเจ็ดต้น แล้วใส่พื้นที่ที่ต้องการความ เป็นส่วนตัวอยู่ในเสาและในช่องว่าง โดยไม่มีพื้นเพดานเหมือน บ้านที่เราคุ้นเคยทั่วไป หากพูดเฉย ๆ อาจจะมองไม่เห็นภาพ ต้องลองตามเข้าไปชมภาพข้างในด้วยกัน
ตัวอาคารมีลักษณะเป็นเส้นตรงเรียบๆ มีหลังคาปั้นหยาทรงปิรามิด ที่ด้านบนคล้ายหมวกใบใหญ่ ขอบหลังคายื่นออกมาจากผนังเพื่อเป็นที่กำบังจากฝน และปิดท้ายด้วยกรอบเส้นสาย ของบ้านที่เฉียบคม ดูเหมือนบ้านที่เด็ก ๆ ชอบวาดบนกระดาษ ลักษณะเด่นอีก ประการที่มองเห็นได้ชัด คือ กระจกสูงจากพื้นจรดเพดานเต็มพื้นที่ 2 ระดับ นอกจากนี้ ยังมีเฉลียงในร่มขนาดใหญ่ที่ด้านหน้าอาคาร ซึ่งให้พื้นที่ในการเปลี่ยน ผ่านระหว่างภายในและภายนอก
โจทย์หนึ่งที่เจ้าของบ้านต้องการ คือ พื้นที่เปิดโล่งกว้างที่มีเพดานสูง Keiichi Kiriyama สถาปนิกหลักของ Airhouse Design Office จึงได้วางแปลนให้บ้านโปร่งโล่ง ที่สุดด้วยวิธีที่แปลกใหม่ คือ ไม่ใช้เสาแบบที่เราเห็นในบ้านทั่วไป
แต่ทำเสาขนาดใหญ่สูง 2 ชั้นที่ซ่อนห้องต่าง ๆ เอาไว้ภายใน ด้วยวิธีนี้ทำให้สามารถสร้างพื้นที่โปร่ง Double Space ที่มีความรู้สึกโล่งต่อเนื่องในแนวตั้งไม่มีเพดานคั่นระหว่างชั้นบนกับชั้นล่าง โดยไม่มีพื้นเพพดานแบ่งระหว่างชั้น รอบบ้านใส่กระจกบานใหญ่รอบช่องว่างระหว่างนั้นได้
บริเวณที่ตั้งของบ้านนี้มี ชื่อเสียงในด้านการผลิตลูกพลับ สถาปนิกจึงเสนอให้สร้างบ้านเป็น ส่วนหนึ่งของแปลงลูกพลับ ไม่เพียงเท่านั้นยังเชื่อมต่อ ความรู้สึกเข้ามา สู่พื้นที่ใช้สอยภายใน โดยสร้างที่ว่างกว้างขวาง ล้อมต้นพลับที่ปลูกอยู่ในตัวบ้านเลย
ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว จากโลกภายนอก สร้างบรรยากาศที่ ผ่อนคลายในบ้าน และยังสร้างภูมิทัศน์ ธรรมชาติในบ้านให้เปลี่ยนไป ตามฤดูกาลต้นพลับ ในความโปร่งใสของผนังบ้าน ก็ยังม่านสีขาวโปร่งแสงที่แยก พื้นที่นั่งเล่นออกจากระเบียงด้านหน้า พร้อมให้ความเป็นส่วนตัวเมื่อต้องการ
ภายในตกแต่งเรียบง่ายด้วย งานไม้สีอ่อนตัดกับผนัง และเพดานสีขาว เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น เท่าที่จำเป็นแบบโมเดิร์นมินิมอล ส่วนใช้งานแบบ Double Space โถงสูงจะมีมุมนั่งเล่น ครัว โต๊ะทานข้าววางอยู่ตามที่ว่าง ระหว่างเสาที่เข้าถึงกันได้หมด ทุกส่วนจะมีหลอดไฟเปลือยห้อย ลงมาจากเดานเพื่อให้แสงสว่างใน บริเวณที่ใช้บ่อยที่สุด รายละเอียดอื่น ๆ ที่ดูน่าสนใจได้แก่ ชั้นวางไม้ และตู้ที่วิ่งรอบมุมผนัง
โครงสร้างเสาขนาดใหญ่นี้มีทั้งหมด 7 จุดรอบ ๆ ภายในภายใน มีรูปร่าง และขนาดต่างกัน โดยแต่ละเสาจะใส่ฟังก์ชันที่แตกต่างกัน เช่น ห้องนั่งเล่น ห้องเก็บของ ห้องอ่านหนังสือ ห้องน้ำ ภายในก็จะมี 2 ชั้น และชั้นบนสามารถเข้าถึงได้โดยใช้บันไดที่ติดตั้งนอกห้องบ้าง ในห้องบ้าง โดยเสาที่ใหญ่ที่สุดรองรับ ห้องสไตล์ญี่ปุ่นดั้งเดิมที่ด้านล่างและมีห้องนอนใหญ่อยู่ด้านบน
ความมินิมอลของบ้านแบบญี่ปุ่น ไม่ได้มีเฉพาะดีไซน์ที่ต้อง เรียบง่ายลดทอนรายละเอียด มากที่สุดเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการเลือกวัสดุ โทนสี ที่สบายตาเป็นธรรมชาติ ส่วนองค์ประกอบภายในต้องโปร่ง เต็มไปด้วยแสง และมีทิศทางลมที่ดี ทำให้บ้านดูมีสุขอนามัย บ้าน 2 ชั้น
สำหรับใครที่คิดว่าสีขาว ในบริเวณกว้างดูนิ่งเกินไป จนไร้ชีวิตชีวา และพื้นที่สูงโปร่งดูเวิ้งว้างเกินไป อาจจะเพิ่มพื้นผิววัสดุไม้ ต้นไม้ ไฟตกแต่ง หรือของตกแต่งบ้านที่ทำจากไม้ไผ่ หวายสาน ที่เพิ่มบรรยากาศ และความรู้สึกอบอุ่นขึ้น
แบบที่ 2 บ้าน 2 ชั้น หลังคา Slab ธรรมชาติในโมเดิร์น
หลังคา Slab หลายคนนิยมเรียกว่าหลังคาแบน เนื่องจากลักษณะที่ดูเรียบแบน ไม่มีกระเบื้องหลังคามาปกคลุม แต่ใช้คอนกรีตแทนหลังคา ลักษณะเช่นเดียวกับบ้านตึก อาคารพานิชย์ ที่มีชั้นดาดฟ้า รูปแบบบ้านดังกล่าวหากเป็นในต่างประเทศ ได้รับความนิยมมาช้านาน และในปัจจุบันเมืองไทยเราเองก็ได้รับความนิยมมากเช่นเดียวกัน หลายท่านอาจเป็นกังวลถึงปัญหาของบ้านทรงดังกล่าว อาทิเช่น ปัญหารั่วซึม ปัญหาความร้อน
ก่อนอื่นต้องขอแจ้งเตือนกันไว้เลยว่า บ้านลักษณะดังกล่าว หากผู้รับเหมาสร้างบ้าน ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญมากนัก อาจก่อให้เกิดปัญหารั่วซึม อย่างแน่นอน เพราะตัวคอนกรีต มักมีรอยรูพลุน เป็นคุณสมบัติของคอนกรีตอยู่แล้ว การก่อสร้างบ้านแบบดังกล่าวจึงจำเป็นต้องผสมน้ำยา กันซึมในคอนกรีต
อีกทั้งการเทคอนกรีต ต้องมีความต่อเนื่อง ไม่ให้มีช่วงรอยต่อ รวมถึงระดับลาดเอียงอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำขังชั้นบน สิ่งเหล่านี้เป็นต้นเหตุ ของการรั่วซึม ซึ่งหากการก่อสร้างเป็น ไปอย่างมาตรฐาน ปัญหาดังกล่าวก็ไม่มากวนใจผู้อยู่อาศัย
ส่วนความร้อนนั้น อันที่จริงไม่ว่าหลังคาประเภทไหน ก็ร้อนกันทั้งหมด เพียงแต่หลังคา Slab จะร้อนกว่า เพราะไม่มีช่องระบายอากาศใต้หลังคา แต่ข้อดีคือสามารถเทคอนกรีต ให้หนากว่าแผ่นหลังคาทั่วไป วิธีป้องกันความร้อนนั้น จึงควรติดตั้งวัสดุกันความร้อน จะสามารถช่วยลดความร้อนได้ดี
ภายในบ้านเน้นความปลอดโปร่ง โล่งสบาย เชื่อมต่อกับสวนสีเขียว มุมมองห้องภายในกระจกใส ทำให้มองเห็นสวนข้างบ้านได้ตลอดเวลา ชั้นล่างออกแบบให้เป็นห้องนั่งเล่น ครัว มุมรับประทานอาหาร ห้องทำงาน ส่วนชั้นบนจะเน้นเป็นห้องนอน โดยมีห้องนอน 2 ห้อง พร้อมห้องน้ำในตัว เติมความผ่อนคลายด้วยสวนระแนง ทำให้ดูผ่อนคลายไปกับธรรมชาติ เป็นรูปแบบบ้านโมเดิร์น ที่ดูลงตัวไม่น้อยเลย